การเกิดแผลที่เท้าในผู้ป่วยเบาหวานมีสาเหตุมาจากการมีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานาน ทำให้เกิดเส้นประสาทส่วนปลายเสื่อม (peripheral neuropathy) ส่งผลให้การส่งกระแสประสาทช้าลง ร่วมกับเส้นประสาทควบคุมกล้ามเนื้อที่เท้าเสื่อม (motor neuropathy) ทําให้กล้ามเนื้อที่ฝ่าเท้าอ่อนแรง ลีบแฟบ เกิดเท้าผิดรูปทำให้การกระจายของน้ำหนักที่ ฝ่าเท้าผิดปกติมีแรงกดซ้ำ ในตําแหน่งที่มีการรับ น้ำหนักตลอดเวลา จนเกิดเป็นหนังแข็งหรือตาปลา (callus) ประกอบกับการรับความรู้สึกต่างๆที่เท้าลดลง (sensory neuropathy) เกิดอาการชา สูญเสียความ สามารถในการป้องกันเมื่อเหยียบของมีคม(protective sensation) ร่วมกับเส้นประสาทอัตโนมัติเสื่อม (autonomicneuropathy) ทำให้ต่อมเหงื่อทำงานลดลง ส่งผลให้ผิวหนังบริเวณเท้าแห้ง แตกง่าย ทำให้เกิดแผล ที่เท้าได้ง่าย จนนำไปสู่การตัดเท้าในที่สุด
ดังนั้นผู้ป่วยเบาหวานจึงต้องระวังเป็นพิเศษควรเลือกรองเท้าที่เหมาะสม ดังนั้นรูปแบบของรองเท้าควรมีลักษณะดังนี้
ควรเป็นรองเท้าปลายปิดหุ้มปลายเท้า หุ้มส้น หรือมีสายรัดสันกันเท้าเลื่อนหลุด
ห้ามใส่รองเท้าแตะแบบคีบ
รูปร่างของรองเท้าเข้ากับเท้าไม่ควรเป็นลองเท้าหน้าแคบ
ส่วนบนของรองเท้าทำจากวัสดุที่ระบายอากาศได้ดีและมีความยืดหยุ่นสูง เช่นหนังหรือผ้า
ไม่มีตะเข็บแข็งภายในรองเท้า
พื้นด้านในมีความนิ่ม ยืดหยุ่น มีความหนาเพียงพอเข้ารูปกับฝ่าเท้า
สามารถปรับขยายขนาดได้ เช่น รองเท้าที่มีแทบแปะหรือมีเข็มขัดเพื่อปรับความกว้างตามขนาดเท้าที่เปลี่ยนแปลงในแต่ละช่วงเวลาของวัน
ส้นรองเท้าเตี้ยไม่ควรเป็นชนิดส้นแคบหรือส้นหมุด
พื้นด้านนอกมีความแข็ง ไม่หักงอหรือเสียรูปง่าย
ซึ่งรองเท้าเบาหวานของ Power Supply (P&O) ออกแบบมาเพื่อผู้ป่วยเบาหวานโดยเฉพาะ โดยออกแบบปรับแก้หุ่นเท้าในส่วนที่กว้างที่สุดของเท้ามีความลึกไม่น้อยกว่า 0.5เซนติเมตร หัวรองเท้าใช้แผ่นโฟมนิ่มขึ้นรูปทรงป้องกันแผลที่ปลายนิ้วเท้า ออกแบบสายรัดไม่ให้ลื่นไถลเพื่อป้องกันแผล (Three-Point Pressure) รองเท้ามี 2 แบบให้เลือกคือ 1.รองเท้าเบาหวานแบบปิดปลายนิ้วเท้ามีส้น 2. รองเท้าเบาหวานแบบเปิดปลายนิ้วเท้า
https://med.mahidol.ac.th/nursing/jns/DocumentLink/D_084614.pdf
Comments