ในแต่ล่ะวันคนเราจะมีการเดินวันล่ะ 5000-7000 ก้าวต่อวัน แน่นอนค่ะว่าเมื่อเราเดินไปนานๆ เท้าของเราก็เกิดการสึกหล่อได้ซึ่งอาจมาจากการใส่รองเท้าที่ผิดรูป หรือบางทีอาจเกิดการโรคประจำตัวหรือพันธุกรรมก็เป็นได้
ความผิดปกติของเท้าโดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ เท้าส่วนหน้า เท้าส่วนกลางและเท้าส่วนหลัง ได้แก่
1. Hallux valgus
ภาวะนิ้วหัวแม่เท้าเกออก ซึ่งสาเหตุอาจะเกิดจากการที่ผู้ป่วยใส่รองเท้าที่ไม่เหมาะสมกับรูปเท้า เช่น การใส่ลรองเท้าส้นสูงที่มีเท้าหน้าแคบ จึงทำให้เกิดการบีบรัดบริเวณเท้าส่วนหน้าส่งผลให้เวลาเดินลงน้ำหนักเกิดแรงกระทำที่ปิดปกติที่บริเวณด้านในของโคนนิ้วหัวแม่เท้า จากเหตุดังกล่าวทำให้โคนนิ้วหัวแม่เท้าเกิดการยืดตัวและเกออกตามรูปรองเท้า เมื่อใส่ไปนานๆ ก็ทำให้เท้าผิดรูปมากขึ้นเรื่อยๆ นอกจากนี้อาจเกิดจากพันธุกรรม ความผิดปกติของส่วนปลายกระดูกฝ่าเท้า หรือปัญหาเท้าแบน
อาการ: ในบางรายไม่แสดงอาการใดๆทั้งสิ้น บางรายอาจมีการเจ็บที่บริเวณส่วนนูนทางด้านในขอข้อโคนนิ้วหัวแม่เท้าเนื่องจากการเสียดสีของส่วนนูน บางรายมีอาการชาที่บริเวณด้านบนของนิ้วหัวแม้เท้าเนื่องจากมีการระคายเคืองต่อเส้นประสาทใกล้เคียง บางกรณีที่รูปนิ้วหัวแม่เท้าผิดรูปอย่างรุนแรงอาจมีการเจ็บฝ่าเท้าร่วมด้วย
การรักษา: เลือกใส่รองเท้าที่มีส่วนด้านหน้ากว้าง ใส่อุปกรณ์ประคองนิ้วเท้า หรือรักษาด้วยการผ่าตัด
2. Hallux rigidus
ภาวะที่มีการติดแข็งหรือเคลื่อนไหวได้เพียงเล็กน้อยของนิ้วหัวแม่เท้ารวมถึงข้อฐานนิ้วหัวแม่เท้าสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการเสื่อมหรือการอักเสบเรื้อรังของข้อฐานนิ้วหัวแม่เท้า ทำให้ไม่สามารถงอนิ้วหัวแม่เท้า
อาการ: การเจ็บโคนนิ้วหัวแม่เท้า โดยเฉพาะจังหวะที่เราผลักตัวไปข้างหน้า โคนนิ้วหัวแม่เท้าก็บวมเมื่อมีการเดินเป็นระยะเวลานาน ผู้หรือป่วยจะรู้สึกข้อฝืด ติดแข็ง เป็นอุปสรรคในการก้าวเดินและอาจมีอาการปวดเท้าร่วมด้วย
การรักษา: การใช้ยาแก้ปวด และยาแก้อักเสบระยะสั้นๆ ประคบเย็น ควรเลือกรองเท้าที่เหมาะสม มีหน้ากว้างและส้นไม่สูง เพื่อลดแรงที่กระทำต่อหน้าเท้า พื้นรองเท้าควรมีความแข็ง หรือพื้นรองเท้าโค้งเป็นท้องเรือ ก็จะทำให้โคนนิ้วหัวแม่เท้าขยับน้อยลง ลดโอกาสเกิดการอักเสบได้
3. Hammer Toe หรือ Claw Toe
การผิดรูปของนิ้วเท้า สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการใส่รองเท้าขนาดสั้นเกินไป หรือใส่รองเท้าส้นสูง ซึ่งทำให้เกิดแรงดันระหว่างปลายนิ้วกับรองเท้าด้านใน มีผลให้นิ้วคดงดผิดรูปไปนอกจากนี้ยังพบได้บ่อยในผู้ป่วยข้ออักเสบเรื้อรัง เช่น โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ เป็นต้น ผู้ป่วยมักมีปัญหาในการหาซื้อรองเท้า เนื่องจากเนื้อที่ภายในของบริเวณหัวรองเท้าไม่สูงพอ จึงเกิดการเสียดสีระหว่างผิวหนังกับรองเท้ามีผลทำให้เกิดแผล หรือหนังตาย ( callus) ในบริเวณนั้น
อาการ: นิ้วเท้าหรือเล็บเท้าเริ่มมีลักษณะเป็นค้อน
4. Bunionette
เรียกอีกอย่างว่าตาปลาของช่างตัดเสื้อ ชื่อนี้มาจากข้อเท็จจริงที่ว่าช่างตัดเสื้อเป็นที่รู้กันว่ามีอาการนี้เนื่องจากท่าทางที่พวกเขาเก็บไว้ในขณะทำงานมีสาเหตุทั้งภายนอกและภายในสำหรับ bunionettes สาเหตุภายนอก ของ bunionettes คือสิ่งที่กดดันภายนอกที่ปลายเท้า ความดันนี้มักเกิดจากรองเท้า แต่อาจเกิดจากสาเหตุอื่นๆ สาเหตุที่แท้จริง ตาปลาเป็นปัญหาที่มีมา แต่กำเนิดซึ่งนำไปสู่การโค้งงอของกระดูกที่ยาวของปลายเท้า ในผู้ป่วยที่มีอาการนี้กระดูกจะยื่นออกมาด้านนอกเล็กน้อยทำให้เกิดตาปลามีเพียงส่วนน้อยของผู้ป่วยที่เป็นโรคตาปลาที่เกิดจากสาเหตุภายในเพียงอย่างเดียวกายวิภาคของเท้า
อาการ: เริ่มจากการกระแทกที่ไม่เจ็บปวดที่ด้านนอกของเท้าใต้นิ้วเท้าที่ห้า บริเวณนั้นอาจบวมแดงและเจ็บปวด ข้าวโพดแข็งหรือแคลลัสอาจงอกขึ้นมาเหนือก้นเมื่อเวลาผ่านไปการกระแทกอาจโตขึ้นและนิ้วเท้าเล็ก ๆ อาจถูกบังคับให้หันเข้าด้านในโดยปกติแล้วอาการปวดจะเกิดขึ้นเฉพาะเมื่อสวมรองเท้าที่เสียดสีกับความโดดเด่นที่ระคายเคืองเท่านั้นคุณอาจไม่รู้สึกเจ็บปวดเมื่อเปลี่ยนไปใช้รองเท้าที่มีนิ้วเท้ากว้างคุณเดินเท้าเปล่าหรือสวมรองเท้าแตะหรือรองเท้าแตะ ผู้ที่มีตาปลามักมีตาปลาเช่นกัน
Bunionettes อาจทำให้เกิดปัญหาที่สำคัญกว่าหากการระคายเคืองทำให้ผิวหนังแตก ในกรณีเหล่านี้การติดเชื้ออาจเกิดขึ้นและทำให้เกิดปัญหาต่อไป นี่เป็นข้อกังวลอย่างยิ่งหากคุณเป็นโรคเบาหวาน
การรักษา: เปลี่ยนรองเท้า สวมรองเท้าที่มี toebox หรือรองเท้าแตะที่กว้างขึ้น หมอนรองตาปลาแบบไม่ต้องสั่งโดยแพทย์สามารถช่วยได้ แต่ต้องใช้กับรองเท้าที่มีพื้นที่ปลายเท้ากว้างพอเพื่อให้มีการบุนวมมากขึ้นโดยไม่ทำให้เท้าของคุณหดตัวมากขึ้น หรือการผ่าตัดทำเพื่อปรับแนวกระดูกไม่ให้ชี้ออกไปด้านนอก
4. Metatarsalgia
อาการปวดหรือเจ็บบริเวณใต้ต่อข้อฐานนิ้ว (metatarsal joints) ทางด้านฝ่าเท้า สาเหตุหลักเกิดจากการเสียสมดุลในการกระจายน้ำหนักของเท้าซึ่งเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น การใส่รองเท้าส้นสูง ผู้ป่วยที่มีปัญหาความผิดรูปของเท้าแบบ Claw toe หรือ hammer toe จึงทำให้การลงน้ำหนักของฝ่าเท้าเกิดการเสียสมดุล
อาการ: การเจ็บจะเกิดขึ้นบริเวณหัวกระดูก Matatersal เมื่อเดินบนพิ้นแข็งหรือใส่รองเท้าส้นสูง อาการเจ็บจะลดลงเมื่อเดินบนพื้นนุ่ม หรือใส่รองเท้าพื้นนิ่มหรือส้นเตี้ย
การรักษา: ควรเลือกใส่รองเท้าพื้นนิ่มและส้นเตี้ย รองเท้าต้องกว้างและยาวพอดีสำหรับทุกนิ้วเท้า
การปรับรองเท้า กล่าวคือเสริม metatarsal pad ที่รองเท้าโดยวางให้ pad อยู่ตรงระดับต่อหัวกระดูกmetatarsal หรือใช้อุปกรณ์เสริม (Foot orthoses) คือทำแผ่นรองเท้าตลอดความยาวเท้าเพื่อกระจายการรับน้ำหนักไปสู่ทุกส่วนของเม้สโนใช้วัสดุที่นุ่มและฝืด เพื่อลดแรงกดและแรงเสียดทานของเท้ากับพื้นรองเท้า เท้านี้ก็ช่วยบรรเทาอาการได้แล้ว
5. Pes Planus
ภาวะเท้าแบน คือฝ่าเท้ามีอุ้งเท้าน้อยหรือไม่มีเลย ภาวะเท้าแบนเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น ความผิดปกติตั้งแต่กำเนิด การที่เส้นเอ็นฉีกขาดหรือการบาดเจ็บของเส้นเอ็น จากการเล่นกีฬา หรือเสื่อมสภาพ การแตกของกระดูกเท้า การอักเสบที่บริเวณเท้าและข้อเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน ภาวะเท้าแบนสามารถแบ่งออกได้ 2 ชนิดคือ เท้าแบนชนิดยึดติด (rigid flat foot) และเท้าแบนชนิดยืดหยุ่น (flexible flat foot) ภาวะเท้าแบนแบบยึดติดเป็นภาวะเท้าแบนที่มีลักษณะของโค้งเท้าทางด้านในลดต่ำลง เป็นภาวะที่พบได้น้อย ผู้ป่วยไม่สามารถทำให้อุ้งเท้า กลับมาได้จากการเขย่งเท้า หรือเท้าอยู่ในลักษณะท่าคว่ำตลอดเวลา ไม่ว่าจะลงน้ำหนักหรือไม่ได้ลงน้ำหนัก ซึ่งเกิดจากความผิดปกติของข้อและกระดูก 9 ส่วน ภาวะเท้าแบนแบบยืดหยุ่น เป็นภาวะเท้าแบนที่มีลักษณะของโค้งเท้าทางด้านในลดต่ำลงเฉพาะช่วงที่ลงน้ำหนักที่เท้า แต่ถ้าให้ผู้ป่วยยืนเขย่งเท้าจะพบว่าอุ้งเท้านั้นกลับมา ฝ่าเท้าลักษณะนี้ไม่ถือว่าเป็นความผิดปกติ ไม่จำเป็นต้องรักษาหากไม่มีการผิดรูปอื่น ๆ ร่วมด้วยหรือไม่มี
อาการ: อาการที่ผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นได้แก่ ปวดบริเวณอุ้งเท้า หลังเท้า หน้าแข็ง หรือน่อง โดยเฉพาะเมื่อต้องยืนหรือเดินนาน ๆ
การรักษา: การเลือกรองเท้า ให้เหมาะสม หรือเลือกซื้อพื้นรองเท้าเสริม เพื่อให้ พื้นด้านในมีโครงสร้างเสริม เพื่อยกส่วนโค้งของเท้า ด้านในให้สูงขึ้นจะเสริมพื้นรองเท้าแบบใดขึ้นกับชนิด ของเท้าแบนด้วย 7 ลดภาระการทำงานของกลุ่มเนื้อ และโครงสร้างกระดูกฝ่าเท้า เป็นข้อมูลป้อนกลับทาง ชีวภาพว่าหากเท้าแบนลง รองเท้าที่มีส่วนโค้งนี้ จะ ดันส่วนโค้งของเท้ากลับมา
6. Pes Cavus
เป็นลักษณะของฝ่าเท้าที่ตรงกันข้ามกับเท้าปุก คือ มีอุ้งเท้าสูง ลักษณะเท้าเช่นนี้พบได้ในผู้ที่เป็นโรคของปลายประสาทบางชนิด ดังนั้นผู้ที่มีอุ้งเท้าสูงมากกว่าปกติร่วมกับเท้าค่อนข้างแข็ง มีความยืดหยุ่นน้อย หรือมีอาการชาเท้าร่วมด้วย ควรไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจหาภาวะนี้ สาเหตุเกิดได้ทั้งเป็นมาแต่กำเนิดหรือเท้าผิดรูปในภายหลัง การใส่รองเท้าที่ไม่เหมาะสม เช่น รองเท้าส้นสูงหรือรองเท้าที่มีพื้นรองเท้าแข็งเกินไป ต่อเนื่องกันเป็นเวลานานสามารถทำให้เกิดความผิดปกตินี้ได้
อาการ: เท้าโก่ง อาจพบนิ้วเท้างอและส้นเท้าบิดเข้าในร่วมด้วย เท้าจะมีลักษณะเป็นคานแข็ง ดังนั้นผู้ป่วยจะมีปัญหาว่าเท้าขาดความยืดหยุ่นที่จะปรับตัวกับพื้นที่ทางเดิน และขาดคุณสมบัติในการดูดซับแรงกระแทก ทำให้มีแรงกดที่เท้ามากกว่าปกติ ในบริเวณหัวกระดูก matatarsal ด้านข้างเท้าและส้นเท้า
ปัญหาที่พบตามมาคือ บริเวณที่รับแรงกดมาก หนังเท้าส่วนนั้นก็เริ่มด้านเป็นตาปลา และอาการปวดเท้าตามมา และโยงไปถึงการเกิด โรครองช้ำ (plantarfasciitis ) อาการปวดตรงฐานนิ้วเท้า (Metatarsalgia) การคดงอของนิ้วเท้า
การรักษา: เนื่องจากเป็นเท้าชนิดที่ไม่มีความยืดหยุ่นในการเดิน ตัวอุปกรณ์จึงต้องช่วยในการดูดซับแรงกระแทกขณะก้าว (heel strike) มักจะใช้ในรูปของinsole หรือแผ่นรองฝ้าเท้าตัดเฉพาะบุคคล โดยการเลือกใช้วัสดุที่มีความหนาแน่นระดับกลางสำหรับรองรับแรงกระแทก และแผ่นรองที่โค้งนูนรับกับฝ่าเท้าจะช่วยกระจายแรงต่อฝ่าเท้า ลดแรงที่จะกดซ้ำไปยังตาปลาได้
7. Plantar fasciitis
คือ การอักเสบของเอ็นพังผืดฝ่าเท้าบริเวณจุดเกาะที่กระดูกส้นเท้า ดังแสดงในภาพที่ 5ผู้ป่วยมี
อาการปวดบริเวณส้นเท้า อาการมักเป็นมากตอนเช้า โดยเฉพาะในก้าวแรกที่ลงน้ำหนักบนพื้น เมื่อเดินไปสักพักแล้วอาจดีขึ้น พบบ่อยของเท้าส่วนหลัง ( hindfoot)
8. Ankle Osteoarthritis
คือ การเสื่อมของกระดูกข้อเท้า มักสืบเนื่องมาจากการอักเสบเรื้อรังของกระดูกข้อเท้า หรือเคยมี
กระดูกข้อเท้าหักมาก่อน ผู้ป่วยจะมีอาการปวดข้อเท้า โดยเฉพาะเวลาลงน้ำหนัก และอาจมีการผิดรูปของข้อเท้าร่วมด้วย พบบ่อยของเท้าส่วนหลัง ( hindfoot)
ที่มา
https://med.mahidol.ac.th/ortho/sites/default/files/public/file/pdf/Hallux_valgus.pdf
https://www.siphhospital.com/th/news/article/share/542/Halluxvalgus
http://rehabmed.or.th/main/wp-content/uploads/2015/01/L-206.pdf
บทความทางเพจคลินิกหมอศุภโชค เท้า ข้อเท้า พิษณุโลก
Comments